เพื่อดูหน้าเว็บได้รวดเร็วสมบูรณ์ให้ดาวน์โหลดเบราว์เซอร์ที่่่แนะนำคลิกที่โลโก้เพื่อดาวน์โหลดพร้อมติดตั้ง

24 ตุลาคม 2553

การบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ Computer Maintenance.

ในโลกแห่งข้อมูลข่าวสารแห่งโลกปัจจุบันพวกเราทุกคนแทบจะหนีไม่พ้นคำว่าอินเทอร์เน็ต ดังนั้นจำเป็นที่พวกเราจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ในเมื่อคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งใกล้ตัว พวกเราจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความรูจักและเข้าใจถึงส่วนประกอบและหน้าที่ของอุปกรณ์เหล่านั้น เพื่อให้ใช้ได้อย่างถูกต้องและมีความเข้าใจขั้นพื้นฐานและที่สำคัญยิ่งกว่านั้น บางท่านยังไม่รู้เลยซ้ำไปว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราก็ต้องมีการบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิถาพและความเร็วในการใช้งานและเพื่อความเสถียรและคงทนอยู่รับใช้เราไปนานๆ เพราะว่าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องถ้าCPUสเปคแรงๆประมาณ 2.0GHz ขึ้นไป ราคาหรืองบประมาณสองหมื่นบาทขึ้นไปเลยทีเดียว ก่อนที่เราจะรู้ถึงการบำรุงรักษาเรามาทำคความรู้จักกับอุปกรณ์ประกอบแต่ละตัวพร้อมชื่อเรียกและหน้าที่ของการทำงาน คอมพิวเตอร์โดยทั่วๆไปต้องประกอบขึ้น2ส่วนคือฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์(Hardware) เป็นอุกรณ์แยกเป็นชิ้นๆจับต้องได้ ขายแยกเป็นชิ้น มีดังนี้ครับ เมนบอร์ด แรม ซีพียู คีบอร์ด จอภาพ เครื่องพิมพ์ เมาส์ ลำโพง หูฟัง และอื่นๆอีกครับ แล้วแต่เราจะสั่งเวลาซื้อ แต่ที่เป็นชิ้นหลักๆ ก็ที่กล่าวมาแล้วนี่แหล่ะครับ ซอฟต์แวร์(S0ftware)หมายถึงโปรแกรม ที่สั่งให้เครื่่องทำงานโดยมากอยู่ในแผ่น CD หรือ DVD และบางทีต้องดาวน์โหลดจาก อินเทอร์เน็ต และจะต้องทำการติดตั้ง(Installation หรือ Setup)ลงไปครับ ทีนี้มาดูหน้าที่การทำงานของอุปกรณ์แต่ละตัวครับว่าทำหน้าที่อย่างไรบ้าง ซีพียู (CPU=Central Processing Unit) ซึ่งใช้ประมวลผลและคำนวณ ประสิทธิภาพของซีพียูต้องวัดด้วยความถี่ที่ความเร็วเทียบกับสัญญาณของนาฬิกาหมายถึงถัาเป็นนาฬิกาแบบเข็ม เมื่อเข็มวินาทีกระดิก1ครั้งนั่นหมายถึง1สัญญาณนาฬิกาครับ เหมือนเรากระพริบตา1ครั้ง แค่ช่วงพริบตาเดียวนี่แหล่ะครับ ประสิทธิภาพขอองซีพียู จะต้องประมวลผลข้อมูลเข้าและออกให้มากทีสุดเท่าที่จะทำได้ หน่วยความถี่ของซีพียู เรียกว่าเฮิร์ต(Hz=Hertz) แบ่งหน่วยเป็นระดับเช่น เมกะเฮิร์ต(MHz) และกิกะเฮิร์ต(GHz) ซึ่งเป็น หน่วยของค่ากำหนดความเร็วการทำงานของซีพียู เราได้ยินคุ้นหูอยู่2ค่ายคือ อินเทล(Intell)และเอเอ็มดี(AMD) เมนบอร์ด(Maimboard) เราสังเกตุภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แผงวงจรที่ใหญ่ที่สุดที่เรามองเห็นนั่นแหล่ะครับคือเมนบอร์ด เป็นจุดรวมแผงวงจรหลัก เพื่อประกอบอุปกรณ์ชิ้นอื่นให้ทำงานไปด้วยกัน อย่างเช่น แรม สล็อตเสีบการ์ดต่างๆ พร้อมทั้งช่องเสียบหรือที่เรียกว่าพอร์ตเพื่อเชื่อมต่ออุกรณ์อื่นๆที่เสียบมาจากข้างนอก หน่วยความจำแรม(RAM=Randon Access Memory) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและโปรแกรมระหว่างเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำงานเท่านั้น จะต้องทำงานประสานกับซีพียูตลอดเวลา แต่เมื่อเราปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในแรมก็จะหายไป เป็นหน้าที่ของฮาร์ดดีสที่เก็บข้อมูลถาวรขณะปิดเครื่องโดยความจุในการสำรองข้อมูลของแรม ใน Windows XP ตามสเปคอย่างน้อย 512 MB หรือ 1 กิกะไบต์ ขึ้นไปถึงจะมีประสิทธิภาพดี ฮาร์ดดีส(Harddisk)บางทีเราอาจจะได้ยินชาวต่างชาติเรียก ฮาร์ดไดรต์ (Harddrive) มีหน้าที่เก็บข้อมูลถาวร และพักข้อมูลร่วมกับแรม ความจุจะต้องไม่ต่ำกว่า50-100กิกะไบต์(GB) อุปกรณ์จ่ายกระแสไฟ(Power Supply)มีหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบซึ่งติดตั้งอยู่ภายในเครื่องสังเกตุง่ายๆจะมีสายไฟต่อออกมาเสีบกับปลั๊กไฟฟ้าภายในบ้านและมีมัดสายไฟสำหรับเสียบต่อเข้ากับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์สีหลักของสายไฟคือ เหลือง แดง ดำ ซึ่งสายดำมีหน้าที่เป็นกราวด์หรือขั้วลบจ่ายแรงดันไฟฟ้าเป็นกระแสดีซีเท่านั้น ถ้าเราจับคู่สายไฟจะให้แรงดันต่างกันดังนี้คือ จับคู่ ดำ+เหลือง แรงดัน=12โวลล์ดีซี (VDC0 และคู่ ดำ+แดง แรงดัน=3.3-5โวลต์ดีซี(VDC) การ์ดแสดงผลหรือการ์ดจอ(VGA Card หรือ Display Adapter)ทำหน้าที่ประมวลผลในแบบดิจิตอลเป็นสัญญาณภาพ การ์ด LAN เครื่่องรุ่นใหม่จะมากับเมนบอร์ด มีหน้าที่ด้านเ็น็ตเวิร์ก มีควาเร็วตั้งแต่ 1,000 Mbps หรือ 1 Gbps (Gigabit per second) ใช้กับข้อมูลขนาดใหญ่ด้านภาพและเสียง การ์ดเสียง (Sound Card) มีหน้าที่ควบคุมด้านเสียง มี2แบบ แบบแรกเป็นชิปฝังบนเมนบอร์ด(Sound on board) แบบที่สองแบบแยกเสียบมีช่องสำหรับเสียบบนเมนบอร์ด จอภาพ (Display Monitor) หน้าที่ใช้แสดงภาพและข้อความต่างๆบนจอ โมเด็ม(M0dem) หน้าที่ใช้เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ฟลชไดรว์และเฟลชการ์ด (Flash Drive และ Flash Card) อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบพกพา และสำหรับกล้องถ่ายรูป หรือการ์ดที่เสียบกับกล้องถ่ายรูป เมื่่อเรารู้จักอุปกรณ์และหน้าที่แล้ว ทีนี้ก็ต้องมีการบำรุงรักษาเมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ไปสักระยะหนึ่่ง เพื่อให้คอมฯ ของเรา เสถียรและรับใช้เราไปนานๆ
วิธีทำ Disk Cleanup
1. คลิกที่ปุ่ม Start เลื่อนลูกศรเมาส์ไปที่ All Program เลื่อนลูกศรเม้าไปที่่ Accessories เลื่อนลูกศรเมาส์ไปที่ System Tools เลื่อนลูกศรเมาส์ไปที่ Disk Cleanup แล้วคลิก 2.ในกรอบสี่เหลี่ยม คลิกเลือกไดรว์ c: แล้วคลิกที่ ok 3.จะเปิดกรอบหน้าต่างสี่เหลียม และแสดงชื่อไฟล์ดังนี้ครับ -Download Program File ไฟล์โปรแกรมActiveXหรือ Java ที่ดาวน์โหลดมา เวลาเราใช้เน็ต -Temporary Internet Files ไฟล์ของเว็บเพจที่ IE เก็บพักไว้ระหว่างที่เราเข้าชม -Offline Web pages ไฟล์เว็บเพจที่เราสั่งให้ IE เก็บไว้ดูโดยไม่ต้องต่ออินเทอร์เน็ต -Microsoft Error Reporting Temporary Files ไฟล์ชั่วคราวของระบบรายงาน error -Office Setup Files ไฟล์ setup ของ Microsoft Office -Recycle Bin ใช้เก็บไฟล์ที่สั่งลบซึ่งยังไม่ได้ถูกลบจริง แต่พักรอไว้ก่อน -System Restore: Obsolete Data Stores ไฟล์ของ System Restore ที่เก่ากว่าการติดตั้ง Windows ครั้งใหม่และใช้ไม่ได้แล้ว -Temporary Files ไฟล์ชั่วคราวระหว่างการทำงานของโปรแกรมใดๆ -WebClient/Publisher Temporary Files ไฟล์ชั่วคราวของบริการ WebClient/Publisher ที่เก็บไว้ในเครื่องเพื่อการแสดงผลโดยเฉพาะ -Compress old files พื้นทีีที่ลดได้จากการบีบอัด (compress) ไฟล์เก่าๆเมื่อเลือกข้อนี้จะมีปุ่มOptions ให้คลิกไปตั้งค่าได้ว่าจะ compress ไฟล์ที่ไม่ได้ใช้แล้วเกินกี่วัน -Catalog files for the Content Indexer ไฟล์ของระบบช่วยค้นหาข้อมูลให้เร็วขึ้น หลังจากเราทราบชนิดของไฟส์แล้ว แต่อย่าตกใจนะครับถ้าเราดูที่เครื่องคอมฯของเราแล้วไฟล์มีไม่ครบตามที่เขียน เป็นเพราะคอมฯแต่ละเครื่องติดตังโปรแกรมมาไม่เท่ากัน ถ้าต้องการลบไฟล์ไหนให้คลิกเครื่องหมายถูกในกรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆหน้าไฟส์ แล้วคลิกต่อที่ ok แล้วคลิกต่อที่ yes แล้วรอจนเครื่อดำเนินการจนเสร็จ เป็นอันเสร็จสมบูรณ์การทำ Disk Cleanup

บทความยอดนิยม 5 อันดับ Popular Posts

ท่องเที่ยวบนยานอวกาศนานาชาติ

คลิบวีดีโอ:การดูแลสุขภาพที่สำคัญมาก