เพื่อดูหน้าเว็บได้รวดเร็วสมบูรณ์ให้ดาวน์โหลดเบราว์เซอร์ที่่่แนะนำคลิกที่โลโก้เพื่อดาวน์โหลดพร้อมติดตั้ง

24 ตุลาคม 2553

การบำรุงรักษาสิ่งของเครื่องใช้ Maintenance of equipment

ไม่มีใครที่ไม่มีสิ่งของที่สำหรับไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน คุณลองคิดแค่สบู่ยาสีฟัน ถ้าเราเก็บไม่ถูกที่วางไว้โดนแดด โดยเฉพาะแปรงสีฟันถ้าตกหล่นลงไปในที่ที่สกปรก เราจะไม่ใช้อีก ต้องซื้อใหม่สิ้นเปลืองรวมทั้งเสียหายเร็วกว่ากำหนดที่ควรจะเป็น เรามาลองคิดทบทวนถ้าเป็นของมีค่าและหาซื้อมายาก กว่าจะได้แต่ละอย่างต้องใช้เวลาสะสมเงินทองเป็นเวลานานพอสมควร ไม่ว่าสิ่งของภายในร้านเรา ภายในบริษัท ภายในบ้านของเรา ภายในที่ทำงาน ทุกๆอย่างที่วางไว้ให้เราเห็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เวลาเราไปซื้อของเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ จะต้องมีบรรจุภัณฑ์ หรือที่เราๆท่านๆทั้งหลายเรียกว่ากล่องหรือถุง โปรดสังเกตุว่าข้างกล่องหรือข้างถุง แม้แต่เครื่องดื่ม หรืออาหารต่างๆที่เราซื้อกินอยู่ทุกๆวัน อาจจะยกเ้้ว้นข้าวแกง หรืออาหารตามสั่ง หรือจานด่วนทั้งหลายแหล่ เราจะสังเกตุเห็นว่าที่ข้างกล่องหรือข้างถุงของเครื่องใช้ไม้สอยเหล่านี้ จะต้องบอกวันเดือนปีที่ผลิต และที่สำคัญอย่างยิ่งยวดและพวกเราทั้งหลายมักจะมองข้ามเพราะนิสัยคนเราไม่ชอบอ่าน อาศัยความคุ้นเคยเสียมากกว่า สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เวลาเราซื้อเมื่อแกะกล่องหรือถุงก่อนจะทิ้ง ลองอ่านดูสักนิดไม่ดีกว่าหรือ บางทีความคุ้นเคยที่เราเข้าใจอยู่เนิ่นนานอาจจะผิดถนัดก็ได้ แล้วบางทีเรามาคิดในใจ และตั้งคำถามว่า "ทำไมเสียบ่อยพังบ่อย"ก็เพราะเราใช้ตามความคุ้นเคยที่ผิดๆ อย่ามองข้ามในสิ่งที่เราคิดเอาเองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย จริงๆแล้วมันสร้างความสิ้นปลืองและเกิดปัญหาใหญ่หลวงตามมา อย่างที่สุภาษิตว่า"เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" ยิ่งถ้าเป็นยานพาหนะที่เราใช้อยู่ทุกวัน โดยที่เราไม่ใส่ใจดูแล อาจจะสูญเสียทั้งครอบครัวเลย ที่เขาพูดกันทั่วไปเกี่ยวกับการดูแลเครื่องจักรเครื่องยนต์และเครื่องมืออื่นๆคือ"การบำรุงรักษา" ในคู่มือการใช้(Manual) เกือบ100% จะต้องมีคู่มือติดมา แล้วเราโยนทิ้งไป เพราะเราคิดว่าใช้สิ่งของเหล่านีมาจนคุ้เคยแล้ว ลองอ่านดู แถมได้ความรู้ใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ดีกว่าใช้แบบคุ้นเคย ซึ่งในคู่มือจะบอกการใช้งานที่ถูกต้อง การจัดเก็บ การนำไปทิ้งเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อตัวเราและสิ่งแวดล้อม และปัจจุบันนี้บางประเทศจะบังคับ เพื่อช่วยกันลดภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะน้ำยาแอร์ ประเทศญี่ปุ่นห้ามปล่อยทิ้งออกสู่อากาศอย่างเด็ดขาด ต้องมีเครื่องกักเก็บแล้วฟอกนำกลับมาใช้ใหม่ที่เราเรียกกันว่าการ รีไซเคิ่ล(Recycle) เพราะเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์บังคับให้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับรถยนต์ใช้น้ำยาแอร์ชนิด 134a ทั้งหมด เพราะน้ำยาแอร์ตัวนี้ถ้าหลุดเข้าไปใชั้นบรรยากาศโลกจะทำลายชั้นโอโซนน้อยลง ไม่เหมือนชนิดเก่า (R12) ซึ่งในคู่มือจะบอกถึงวีธีการใช้ที่ถูกต้อง และที่สำคัญคือ การบำรุงรักษาขั้นพื้นฐานที่จำเป็น และสามารถทำเองได้ ถ้านอกเหนือจากที่เราจะทำได้เขาจะแนะนำให้ติดต่อผู้ผลิต ผู้จำหน่าย เพื่อมาให้บริการเรา ยิ่งถ้ามีการรับประกันก็บริการฟรี แต่ไม่ใช่ว่า เราคิดว่าอยู่ใระยะประกันแล้วใช้อย่างไม่ระมัดระวัง เพราะผลิตภัณฑ์ทุกอย่างต้องผ่านกาทดสอบด้านต่างๆและเก็บข้อมูลไว้แล้ว ความเสียหายจะเกิดขึ้นได้ถ้าเราไม่อ่านคู่มือก่อนใช้งาน จะทำให้เคลมประกันไม่ได้ จงรักการอ่านพวกเราจะได้ความรู้ใหม่เพื่อประยุกต์ใช้ในดำรงชีวิตประจำวัน

บทความยอดนิยม 5 อันดับ Popular Posts

ท่องเที่ยวบนยานอวกาศนานาชาติ

คลิบวีดีโอ:การดูแลสุขภาพที่สำคัญมาก