เพื่อดูหน้าเว็บได้รวดเร็วสมบูรณ์ให้ดาวน์โหลดเบราว์เซอร์ที่่่แนะนำคลิกที่โลโก้เพื่อดาวน์โหลดพร้อมติดตั้ง

23 ตุลาคม 2553

ภาวะโลกร้อน Global warming

มนุษย์เราใช้สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เปิดแอร์ ทีวี ตู้เย็น ขับรถยนต์ เครื่องจักรต่างๆ เปิดไฟแสงสว่าง และอื่นอีกมากมาย ที่ปลดปล่อยพลังงานความร้อน เราทำในสิ่งเดียวกันอย่างที่กล่าวมาแล้วพร้อมๆกันเป็นจำนวนหลายล้าน เราลองจินตนาการว่าความร้อนที่ปล่อยออกมาพร้อมกันมันมากมายมหาศาลขนาดไหน แล้วมนุษย์เราทำกิจกรรมยี่สิบสี่ชั่วโมงเ เมื่อสภาวะบรรยากาศในโลกเราร้อนผสมผสานกับพลังงานแสงอาทิตย์อีก ทีนี้ร้อนเป็นทวีคูณ ผลที่ตามมาฝนตกน้ำท่วมพากันเดือดร้อนเกือบทั่วโลก ในที่ที่ไม่เคยท่วมก็พาท่วม อย่างเช่น ปากีสถาน นครราชสีมา และหลายๆแห่งที่เกิดภัยพิบัตจากน้ำท่วมอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน และรุนแรงจากจำนวนน้ำที่ฝนตกลงมาอย่างมากมายมหาศาล แล้วมันเกี่ยวโยงกันอย่างไร เมื่ออุณหภูมิห้องของโลกเรานี้เพิ่มขึ้นที่พวกเราได้ยินจนชินหู ว่า "โลกร้อน" น้ำบนพื้นโลกเรานี้ทั่วทุกหนทุกแห่ง และอัตราส่วนของน้ำในโลกของพวกเรามากถึงสามในสี่ส่วน ลองจินตนาการง่ายๆ เอาแตงโมหนึ่งลูกมาผ่าให้เท่ากันสี่ชิ้นแล้วแยกออกจากกันไปวางไว้สามชิ้นและหนึ่งชิ้นแล้วเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำในโลกของพวกเราว่ามากมายมหาศาลขนาดไหน บวิเวณที่เป็นน้ำของโลกเราไม่ใช่เฉพาะในทะเลนะครับทั้งในห้วยหนองคลองบึงทะเลสาบทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม น้ำที่กำลังไหลในแม่น้ำ เมื่อรวมกันทั้งโลกจะมากกว่าพื้นผิวพื้นที่ของพื้นดินถึงสามเท่า เมื่อสภาวะของโลกเราอุณหภูมิสูงขึ้นจากเหตุปัจจัย อุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของพวกเรานี่เองเมื่อรวมกันทั้งโลกก็ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงไม่มีเวลาหยุด พลังงานความร้อนเหล่านี้มีผลอย่างไรต่อปริมาณน้ำที่มีมากถึงสามเท่าในโลกเรา น้ำเมื่อพบกับความร้อนก็ระเหย เป็นความชื้นในอากาศแล้วลอยขึ้นไปก่อตัวเป็นก้อนเมฆ ยิ่งร้อนมากยิ่งระเหยมาก ร้อนนานระเหยนาน ถ้าน้ำบนพื้นดินระเหยนานจนหมด สิ่งที่ตามมาคือความแห้งแล้ง ระเหยนานจนแหังดินแตกระแหง แต่ตรงกันข้ามกับน้ำในทะเลที่มากกว้างใหญ่จนเรียกว่ามหาสมุทร รวมถึงปริมาณน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้แถบทวีปแอนตาร์กติก(หรือแอนตาร์กติกา) ระเหยยังไงก็ไม่หมด จนได้ปริมาณเมฆมหาศาลบนท้องฟ้าเรา เมื่อปริมาณเมฆมากและรวมตัวตกลงมาเป็นฝน เมื่อเมฆมากรวมตัวกันมากเวลาที่ใช้ตกลงมาเป็นฝนก็นานตาม ยิ่งก่อตัวรวมกลุ่มกันพากันมาคราวละมากๆไม่ใช่เมฆและฝนอย่างเดียวพาลมมาด้วยพร้อมๆกันที่เราเรียกกันว่า "พายุ" ส่วนพายุนี้เกิดแถบไหนก็เรียกตามแถบนั้นๆ เรียกตามความรุนแรงทีเป็นระดับวัดกันเป็นระดับเอฟ (F) พายุ F0 ความเร็วลม 64-116 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุ F1 ความเร็วลม 117-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุ F2 ความเร็วลม 181-253 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุ F3 ความเร็วลม 254-332 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุ F4 ความเร็วลม 333-418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุ F5 ความเร็วลม 419-512 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การเรียกชื่อพายุเรียกตามบริเวณที่เกิด เช่น พายุไซโคลนเกิดในอ่าวเบงกอล และ มหาสมุทรอินเดีย พายุเฮอริเคนเกิดในมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลแคริเบียน อ่าวแม็กซิโก พายุวิลลีเกิดในทวีปออสเตรเลีย พายุไต้ฝุ่นเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลจีน วัฎจักรหมุนเวียนกลับมาหาเราจริงๆ ซึ่งถ้าเราคิดว่าแค่เราใช้เครื่องอุปโภค เช่น แอร์ ทีวี ตู้เย็น หม้อหุงข้าว รถยนต์(ติดเครื่องทิ้งไว้) เปิดไฟแสงสว่างทิ้งไว้ เราคิดว่าแค่เราคนเดียวไม่มีผล แต่อย่าลืมว่า โลกฝั่งเรามืดแต่ฝั่งตรงกันข้ามกับเราสว่าง ถ้าลองเอาลูกโลกจำลองมาแล้ว เจาะให้ตรงแผนที่ประเทศไทยให้ทะลุไปฝั่งตรงกันข้าม ตรงประเทศไหนหรือแถบไหน คือประเทศที่อยู่ตรงกันข้ามกับประเทศเรา ยิ่งเป็นเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรมเดินเครื่องตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ถ้าเครื่องจักรนั้นใช้คนคอยควบคุมก็เปลี่ยนกะเข้าไป และในยุคโลกาภิวัตน์ใช้หุ่นยนต์ควบคุมหรือใช้ระบบควบคุมแบบอัตโนมัติ(Automatic) พลังงานความร้อนปล่อยออกมาตลอดเวลลา 365 วัน โดยไม่ได้หยุดพัก พวกเราทั้งหลายมวลหมู่มนุษย์ไม่เฉพาะคนไทย หมายถึงทั้งโลกใบนี้จงอย่าชะล่าใจ ภัยแห่งธรรมชาติที่ขาดความสมดุลย์อันเป็นเหตุจากการกระทำของมวลหมู่มนุษย์ในโลกเราเองทั้งโลกซึ่งอาจคิดหรือคาดการณ์ไม่ถึงว่าภัยพิบัตที่เกิดจากธรรมชาตินั้นอันที่จริงแล้วมาจากการกระทำของพวกเราเองที่อาศัยและต้องพึ่งพิงวัฎจักรแห่งธรรมชาตินี้ ที่พวกเราไม่รับผิดชอบและช่วยกันดูแลที่เราเรียกว่า"การดูแลบำรุงรักษาโลกของเรา"

บทความยอดนิยม 5 อันดับ Popular Posts

ท่องเที่ยวบนยานอวกาศนานาชาติ

คลิบวีดีโอ:การดูแลสุขภาพที่สำคัญมาก