เพื่อดูหน้าเว็บได้รวดเร็วสมบูรณ์ให้ดาวน์โหลดเบราว์เซอร์ที่่่แนะนำคลิกที่โลโก้เพื่อดาวน์โหลดพร้อมติดตั้ง

09 กุมภาพันธ์ 2554

วิธีรักษาโรคประจำตัวให้ได้ผลดี 10 วิธี Cure diseases to get the best 10 ways

นอกจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือยาขนานเอกเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรักษาอาการป่วย แต่สิ่งที่สำคัญกว่าที่ช่วยให้การรักษาให้ได้ผลเป็นอย่างดี คือผู้ป่วยเอง มีวิธีปฏิบัติดังนี้ 1. หมั่นใส่ใจสุขภาพ หากคุณมีโรคประจำตัวควรหมั่นสังเกตและติดตามอาการของโรค หากพบสิ่งผิดปกติหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพให้ปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง 2.จดคำถาม เตรียมข้อมูลคำถามหรือข้อสงสัยก่อนไปพบแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะไม่ลืมถามอะไร เช่น ลักษณะอาการของโรค ความวิตกกังวลของคุณ หรือแม้กระทั่งการใช้ยา 3. กล้าที่จะพูด คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียดเกี่ยวกับประวัติการรักษาโรค ยาที่แพ้ หรือสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยเกี่ยวกับแพทย์ ยิ่งคุณให้ข้อมูลได้มากเท่าไหร่ ก็จะเพิ่มความสะดวกในการวินิจฉัยให้กับแพทย์ได้มากขึ้น 4. เปิดเผยข้อมูล คุณต้องไม่ปิดบังข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอาหารที่คุณบริโภค เพราะการเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ให้แพทย์ทราบอย่างละเอียดจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยและทำการรักษาได้อย่างถูกต้องและได้ผลมากขึ้น การปิดบังข้อมูลโดยเฉพาะเรื่องที่คุณไม่ปฏิบัติตามแพทย์สั่งหรือฝ่าฝืนข้อห้ามต่างๆ อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควรหรืออาจทำให้อาการกำเริบได้ 5. กำจัดความอายุ ผู้ป่วยบางรายมักอายุและไม่กล้าที่จะเล่าปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้แพทย์ฟัง เช่น ปัญหาทางเพศ แต่ให้จำไว้เสมอว่าคุณไม่ใช่เพียงคนเดียวที่เจอกับปัญหานี้ และแพทย์มักจะเคยได้ยินเรื่องราวแบบนี้ซ้ำๆ มาก่อนจากผู้ป่วยคนอื่นแล้ว และด้วยจรรยาบรรณของแพทย์แล้ว แพทย์จะต้องเก็บข้อมูลของผู้ป่วยเป็นความลับเสมอ ดังนั้นแพทย์จึงเป็นบุคคลที่เหมาะสมที่สุดที่จะให้คำแนะนำทางการแพทย์กับคุณได้ 6. จดบันทึกคำแนะนำของแพทย์ไว้กันลืม การจดบันทึกคำแนะนำต่างๆ ของแพทย์ไว้ ถือเป็นการช่วยเตือนความจำให้คุณสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ได้อย่างครบถ้วนไม่มีตกหล่น 7. มั่นใจว่าเข้าใจทุกอย่างถูกต้องแล้วก่อนที่จะเดินออกมาจากห้องตรวจ มั่นใจหรือยังว่าเข้าใจคำแนะนำ คำสั่งของแพทย์ การปฏิบัติตัว และการใช้ยาทุกอย่างแล้ว หากยังไม่เข้าใจควรขอให้แพทย์อธิบายซ้ำอีกครั้ง ซึ่งแพทย์มักจะยินดีให้คำตอบอยู่แล้ว เพื่อคุณจะได้มั่นใจว่าจะปฏิบัติตัวและใช้ยาได้ถูกต้องตามที่แพทย์แนะนำ 8. ตั้งเป้าหมายในสิ่งที่สามารถทำได้จริง หากตั้งเป้าหมายในสิ่งที่ยากเกินไปอาจทำให้รู้สึกท้อแท้และทำไม่สำเร็จ ดังนั้นควรตั้งเป้าหมายในสิ่งที่สามารถทำได้จริง เช่น จะกินผักและผลไม้ให้มากขึ้น หรือจะเดินออกกำลังกายในตอนเช้าวันละ 15 นาที 9. บอกแพทย์ทันทีว่าทำไม่ได้ หากคุณไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำหรือการใช้ยาตามที่แพทย์สั่งควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที เพื่อแพทย์จะได้พิจารณาปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับคุณได้ 10. ไม่มีใครดีที่สุด ควรเข้าใจว่าบ้างครั้งแม้คุณจะเป็นผู้ป่วยที่ดึและได้แพทย์ที่ดี แต่ก็ใช่ว่าจะทำให้การรักษาเป็นไปอย่างราบรื่น ดังนั้นควรสื่อสารกันให้มาก พูดคุยกันในสิ่งที่คุณรู้สึก เพื่อให้เกิดผลดีต่อการรักษา หากลองทำแล้วสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น อาจต้องพิจารณาเปลี่ยนแพทย์

บทความยอดนิยม 5 อันดับ Popular Posts

ท่องเที่ยวบนยานอวกาศนานาชาติ

คลิบวีดีโอ:การดูแลสุขภาพที่สำคัญมาก