เพื่อดูหน้าเว็บได้รวดเร็วสมบูรณ์ให้ดาวน์โหลดเบราว์เซอร์ที่่่แนะนำคลิกที่โลโก้เพื่อดาวน์โหลดพร้อมติดตั้ง

30 ตุลาคม 2553

ความปลอดภัยไฟฟ้าภายในบัาน Electrical safety

หลายท่านเคยได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆ เวลาไฟไหม้มักเกิิดจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือมีผู้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าจากที่พักอาศัย อันตรายใหญ่หลวงเหล่านี้เป็นสาเหตุมาจากการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าด้วยตัวเองโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์มาจากหลายสาเหตุ โจรปล้นร้อยครั้งไม่เท่าไฟไหม้บ้านเพียงครั้งเดียว บ้านที่เราพักอาศัยอยู่หรือผู้ที่คิดกำลังจะซื้อบ้านใหม่หรือบ้านมือสอง อย่ามองข้ามความปลอดภัยถึงระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ท่านจะวางใจผู้รับเหมาที่สร้างบ้านและติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้านของเราว่า ไดัถูกต้องตามมาตรฐานของการไฟฟ้าจริงหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่จะบอกให้พวกเราทุกคนทราบว่า มาตรฐานของระบบไฟฟ้าตามบ้านเืรือนมีดังต่อไปนี้ ขนาดสายไฟ,ปลั๊กไฟ,ปลั๊กพ่วง,สีของสายไฟ,จุดต่อถูกต้องตามสัญลักษณ์สีที่ระบุหรือไม่ ปลั๊กที่เราใ้ช้้มีมาตรฐานหรือเปล่า สีของสายไฟ เช่น สีเขียวใช้ต่อกราวด์ สีขาว ใช้ต่อนิวทรอน สีดำ ใช้ต่อเฟส โดยเฉพาะสัญลักษณ์สีของสายไฟเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเวลาตรวจสอบจากการไฟฟ้า หรือช่างผู้ชำนาญด้านไฟฟ้าจะต้องรู้ ไม่ใช่ว่าเป็นสายไฟแล้วนำมาต่อหรือใช้สีอะไรก็ได้มาต่อ เรามาสังเกตุดูความถูกต้องระบบไฟฟ้าภายในบ้านดังนี้ครับ 1.สายเฟส หมายถึง สายที่มีกระแสไฟ แบ่งเป็น 1เฟส และ 3เฟส 1เฟสหมายถึงไฟฟ้าตามบ้าน 220 V. ส่วน3เฟสเป็นไฟฟ้าที่ใช้กับอุปกรณ์ขนาดใหญ่ เช่นมอเตอร์ปั๊มน้ำขนาดใหญ่ แอร์ขนาดเกิน3ตันหรือ36,000BTU ใช้ไฟฟ้า3เฟสขนาด380V.ซึ่งอาจเป็นบ้านที่มีพื้นที่มากหลังใหญ่ สายเฟสหลักของไฟฟ้าบ้านเรา(ประเทศไทย)ขนาดความโตของสายไฟต้องไม่ต่ำกว่า 2.5มม้.(อ่านว่า สองจุดห้าตารางมิลลิเมตร) และสีของสายไฟที่เป็นมาตรฐานของระบบเฟสคือ แดง,ดำ,น้ำเงิน (3เฟส380V.) ถ้าเป็นสายดินหรือสายกราวนด์ต้องเป็นสีเขียวเท่านั้น และถ้าเป็นสายนิวทรอน ต้องเป็นสีขาวเท่านั้น จำนวนตามมาตรฐานต้องมี5เส้น5สีคือ แดง,ดำ,น้ำเงิน,ขาว,เขียว 2.สายเฟสที่แยกต่อเข้าปลั๊กต้องใช้สีดำ หมายถึงเฟสที่มีกระแสไฟตลอดเวลา ซึ่งขณะเอาไขควงเทสไฟวัด จะมีไฟสว่างขึ้น 3.สายนิวทรอน ต้องเป็นสีขาวเท่านั้น และขณะใช้ไขควงเทสไฟวัด จะไม่สว่าง แต่จริงๆแล้วมีกระแสไฟฟ้าอยู่ แต่เพราะว่ามีความต่างศักย์เท่ากับร่างกายเราคือศูนย์ 4.สายกราวด์หรือสายดิน ต้องเป็นสีเขียวเท่านั้น และต้องต่อเข้าปลั๊กที่เป็นรูเสียบสำหรับต่อกราวด์ สังเกตุจะอยู่ตรงกลางปลั๊กเยื้องไปทางขวามือหรือที่เรียกว่าปลั๊ก3ทางหรือ3รู ความปลอดภัยเวลาเราตรวจเช็คระบบไฟฟ้าภายในบ้านต้องไม่ประมาทหากผู้รับเหมาที่ไม่ยึดตามมาตรฐาน การใช้สีของสายไฟตามที่กล่าวมาแล้วนั้น อันตรายอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรไหม้บ้าน และเป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ และผู้ตรวจซ่อม เพราะขณะเราปิดสวิทต์ ขณะช่อม เช่นหลดไฟตามบ้าน ถ้าปิดสวิทต์แล้วเอาไขควงเทสไฟวัดดูที่สายสีำดำ ถ้ายังมีไฟสว่างที่ไขควง แสดงว่าต่อสายที่สวิทต์ผิด ปกติที่สวิทต์ต้องต่อสายเฟสที่มีไฟตลอดเวลาคือสีำดำเท่านั้น เมื่อปิดสวิทต์แล้วต้องไม่มีไฟฟ้าผ่าน ลักษณะนี้ต้องแก้ไขด่วน และเมื่อปิดสวิทต์แล้วยังมีไฟเรืองแสงอยู่ที่หลอด สัญนิฐานได้เลยว่า การต่อสายไฟที่สวิทต์ผิด และอีกอย่าง ต้องมีกระแสไฟรั่ว ฉนั้นเราอย่าไว้ใจนะครับว่าปิดสวิทต์แล้วจะปลอดภัย หากผู้รับเหมาที่ไม่ปฎิบัติตามมาตรฐานของสีและการต่อดังกล่าว จะเป็นอันตรายมาก เพราะเวลาปิดสวิทต์แล้วยังมีกระแสไฟอยู่ จึงเป็นเหตุให้ไฟไหม้ และเป็นอันตรายต่อผู้ตรวจซ่อม ต่อไปนี้สิ่งที่เรามองข้ามไม่ได้อีกอย่างหนึ่งคือ การเลือกซื้อปลั๊กไฟฟ้ามาใช้ทั้งปลั๊กที่ฝังในฝาผนังและปลั๊กพ่วง อย่า่คิดว่ามีรูเสียบแล้วใช้ได้นะครับ เพราะปลั๊กไฟฟ้าบ้านเราที่ผลิตออกมาจำหน่าย มีทั้งสองแบบคือได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐาน ปลั๊กที่มีมาตรฐานต้องมี3รู ถ้าสังเกตุที่ขาเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้า ขาเสียบที่มีลักษณะกลม เป็นสายกราวด์ รูปลั๊กตำแหน่งนี้ต้องต่อกับสายสีเขียวเท่านั้น ส่วนรูปลั๊กอีกสองรู มีลักษณะกว้างไม่เท่ากัน ลองสังเกตุปลั๊กที่บ้านของท่านดู รูที่มีลักษณะกว้างกว่าต้องต่อสายนิวทรอนหรือสีขาวเท่านั้น ส่วนรูที่แคบกว่าต้องต่อสายเฟสที่่่มีกระแสไฟฟ้าตลอดเวลาคือสายสีำดำเท่านั้น และอีกอย่างที่ขาเสียบเครืองใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้มาตรฐาน ข้าเสียบตัวผู้ต้องมีขนาดตามรูปลั๊ก คือถ้าเสียบกลับด้านหรือสลับขาเสียบ จะเสียบไม่เข้า การเลือกซื้อปลั๊กมาใช้อย่าลืมสังเกตุปลั๊กที่มีมาตรฐานจะมีเครื่องหมาย " มอก." ต้องมี3รู ถ้าเป็นปลั๊กพ่วงที่ตัวปลั๊กมี3รูแต่ที่ขาเสียบมี2ขาถือว่าไม่มีความปลอดภัยเวลาไฟรั่วเพราะไม่มีสายดินจากปลั๊กไปที่เต้าเสียบข้างฝาผนัง ส่วนอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วหรือไฟดูด(Leak Circuit Breaker) ถ้าเกิดว่าระบบตู้คอลโทรลไฟฟ้าภายในบ้านต่อสายระหว่างนิวทรอนและกราวด์สลับกัน เครื่องป้องกันไฟรั่วจะถูกหลอกว่า ไม่มีไฟรั่ว เพราะกระแสไฟฟ้าไหลลงดิน และวนกลับมาที่เครื่่อง ซึ่งจริงๆขณะนั้นกระแสไฟฟ้ารั่ว ทำให้เราไม่ใส่ใจ เพียงคิดว่ามีเครื่องป้องกันไฟดูดไฟรั่วแล้วจะปลอดภัย แต่พอถึงเวลาเกิดเหตุกลับไม่ทำงาน หากเราสงสัยว่าระบบไฟฟ้าภายในบ้านของเราว่าต่อไว้ถูกต้องตามที่กล่าวมาแล้วหรือไม่ ให้เรียกทางการไฟฟ้ามาตรวจสอบ หรือช่างผู้มีความรู้ด้านไฟฟ้าเป็นอย่างดีมาตรวจสอบความถูกต้องให้เรา และสิ่งที่เขียนมาทั้งหมดเป็นการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานก่อนที่เราจะลงมือตรวจเช็คระบบไฟฟ้าภายในบ้านด้วยตัวเราเอง

บทความยอดนิยม 5 อันดับ Popular Posts

ท่องเที่ยวบนยานอวกาศนานาชาติ

คลิบวีดีโอ:การดูแลสุขภาพที่สำคัญมาก