คงกลายเป็นปัจจัยสี่ไปแล้วครับสำหรับรถยนต์ เกือบทุกบ้านต้องมีรถยนต์ ซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวเรานี่เอง ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน เนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ยิ่งช่วงหน้าเทศกาลวันหยุดยาว แต่ละบ้านเดินทางกันเป็นครอบครัว ครอบครัวคือสิ่งที่เรารักยิ่ง รถยนต์เราทั้งคันเราต้องหมั่นดูแลตามระยะตามคู่มือนะครับ สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในรถยนต์ของเรานั้น คือช่วงล่างครับ ช่วงล่างหมายถึง ระบบโครงสร้างใต้ท้องรถ เช่น โช๊คอัฟ ยาง แหนบ ระบบบังคับเลี้ยว ระบบส่งกำลัง เบรก ฯลฯ ระบบเหล่านี้สำคัญทุกอย่างครับ และสิ่งที่สำคัญที่สุด เราต้องฝากชีวิตไว้เลยก็ว่าได้ขณะเดินทางด้วยรถยนต์ นั่นคือ "ยางรถยนต์" ยางมีความสำคัญสูงสุดเลยในบรรดาช่วงล่างรถยนต์ พวกเราลองจินตนาการดูครับ ถ้าเราขับรถความเร็ว 100 กม./ชม.(อ่านว่า หนึ่งร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขึ้นไป แล้วยางระเบิดกระทันหันโดยที่เราไม่ทันระวังตัว ไม่อยากจะคิดถึงภาพที่เกิดขึ้นเลยครับว่าจะมีความสูญเสียร้ายแรงขนาดไหน การเลือกยางมาใช้กับรถของเรา ถ้าเป็นยางแก้มเตี้ย วิธีดูลักษณะยางแก้มเตี้ย คำว่าแก้มยาง คือระหว่าง ขอบล้อด้านอกสุดของกะทะล้อ วัดลงมาแตะพื้นถนนตรงนี้แหล่ะครับเป็นบริเวณความกว้างของแก้มยาง ถ้ายิ่งวัดค่่ายิ่งน้อย แก้มยางยิ่งเตี้ย ผลดีของยางแก้มเตี้ยรถแต่งโหลดเตี้ยดูสวยงามวิ่งเข้าโค้งแรงๆ รถไม่พลิกคว่ำง่ายเพราะจุดศูนถ่วง(CG=Center of gravity)ของรถอยู่ต่ำใกล้ระนาบพื้น ผลเสีย แก้มยางยิ่งเตี้ย ความยึดหยุ่นในการลดแรงกระแทกเวลาตกหลุมมีน้อยมาก เพราะยางแก้มเตี้ยแก้มจะแข็งมาก และทำให้พวกช่วงล่าง เช่น ลูกหมากของระบบบังคับเลี้ยวสึกหรอและพังเร็ว และยิ่งไปกว่านั้น ที่รับแรงกระแทกโดยตรงเลย คือลูกปืนล้อ การยืดหยุ่นของแก้มยาง หมายถึง เวลาเกิดแรงกระแทก หรือเวลารถตกหลุม แก้มยางต้องยวบตามเวลาน้ำหนักของตัวรถกดลงไปที่ยาง ฉนั้นเวลาเราเลือกยางมาใส่รถของเรา ให้เราพิจารณาถึงผลได้ผลเสียระยะยาวดูครับ ว่าจะให้ช่วงล่างรถเราพังบ่อยๆ หรือจะยืดอายุการใช้งานช่วงล่างรถเรา เพื่อช่วยเราประหยัดค่าซ่อมบำรุง เมื่อเราเลือกยางได้แล้ว ทีนี้มาดูการเติมลมยางและการใช้ยาง ลมยางต้องเติมให้ได้ตามคู่มือรถกำหนดครับ ถ้าลมยางอ่อน หน้าสัมผัสยางกับพื้นถนนมีพื้นที่มากทำให้แรงเสียดทานระหว่างหน้ายางกับพื้นถนนมีมาก ทำให้เราต้องเร่งเครื่องยนต์ของรถเพื่อออกแรงฉุดลากเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ถ้าเราเติมลมยางแข็งมากเกินไป เวลาเจอถนนขรุขระ เป็นหลุมหรือลูกระนาด ทำให้ยางเต้นอย่างรุนแรง และไม่ปลอดภัย เพราะการบังคับเลี้ยวมีความฉวัดเฉวียงวอกแวก และเลื้อยง่าย โดยเฉพาะเวลาเจอน้ำ เพราะยางแข็งพื้นที่หน้าสัมผัสของหน้ายางกับพื้นถนนเหลือน้อย จึงทำให้มีความไวในการบังคับเลี้ยว และพวกเราผู้ขับจะควบคุการบังคับเลี้ยวยาก ฉนั้นเติมตามคู่มือรถแนะนำดีที่สุดครับ หรือเติมตามสเปคของยางรุ่นนั้นๆยี่ห้อนั้นๆ เช่น เติมแบบไม่มีการบรรทุก หรือเติมตามน้ำหนักบรรทุก และเพื่อยืดอายุการใช้งานของยาง อย่าขับรถเข้าจอดข้างทางที่รก หรือเติมไปด้วยเศษแก้ว อย่าขับเข้าจอดเบียดฟุตบาท หลีกเลี่ยงถนนขรุขระ อย่าขับรถผ่าหลุมลึกๆ อย่าออกรถรุนแรงจนล้อมีเสียงดังเอี๊ยด จะทำให้ยางสึกเป็นสิบเท่าของการใช้งานปกติ อย่าเข้าโค้งแรงๆ จนทำให้โครงสร้างยางบิดจนไม่คืนตัว และในปัจจุบันนี้ การเติมลมยางใช้ก๊าซชนิดพิเศษ ที่พวกเราคงเคยได้ยินคำว่า "ก๊าซไนโตรเจน"ตอนนี้ในท้องตลาดตามศูนย์บริการรถยนต์โดยทั่วไป มีเครื่องผลิตก๊าซ โนโตรเจนเพื่อใช้เติมลมยางในรถยนต์ และในล้อของเครื่องบินก็ใช้ก๊าซชนิดนี้หมดแล้วครับ เรียกตามภาษาช่างว่า "เติมลมไนโตรเจน"ข้อดีของก๊าซชนิดนี้ ในเครื่องผลิตก๊าซจะแยกก๊าซออกมา เป็นก๊าซไนโตรเจน โดยผ่านกระบวนการกรองความชื้น จำพวกฝุ่นละออง ละอองน้ำ และก๊าซตัวอื่นๆ ความละเอียดของกรองมีหน่วยเป็นไมครอนเริ่มตั้งแต่ 0.1,0.5,และ20ไมครอน ตามลำดับของความละเอียดของการกรอง เมื่อเอาก๊าซโนโตรเจนมาเติมลมยางรถยนต์ เรามาคิดถึงหลักความเป็นจริงครับว่า เวลาเราขับรถ ไม่ว่าระยะทางจะไกลหรือใกล้แค่1กิโลเมตร ความร้อนก็เกิดกับยางรถของเราแล้วครับ แล้วความร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดจากหน้ายางสัมผัสกับผิวถนน แล้วเกิดแรงเสียดทานในการฉุดของล้อรถให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ช่วงนี้แหล่ะครับที่เกิดความร้อน ถ้ายิ่งหน้าร้อนพื้นถนนร้อนอยู่แล้ว ความร้อนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเลยครับ ก๊าซหรือลมยางที่เราเติมในลมยางของรถยนต์โดยทั่วไป จะมีความชื้นและฝุ่นละออง และก๊าซตัวอื่นๆปะปนอยู่ ความชื้นก็คือ ละอองน้ำในอากาศนั่นเองครับ ฉนั้นเมื่อยางรถยนต์ของเราร้อน ละอองน้ำที่ปะปนอยู่ในลมยาง จะระเหยและเพิ่มปริมาตรมากขึ้น ทำให้แรงดันลมยางเพิ่มขึ้นขณะยางร้อน เมื่อแรงดันลมยางเพิ่มขึ้น เช่น เราเติม 30lb/n้ (อ่าน สามสิบปอนด์ต่อตารางนิ้ว) เมื่อยางร้อนจะเพิ่มเป็น 32-33-35 lb/n้ หรือจะเพิ่มขึ้นมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นที่ปะปนอยู่ในอากาศ แรงดันทีเพิ่มขึ้นนี่แหล่ะครับ จะเบ่งแรงดันให้โครงสร้างยางยืดตัว และขณะนั้นถ้าเราขับรถตกหลุมกระแทกแรงๆยิ่งเพิ่มแรงอัดภายในลมยางเพิ่มเข้าไปอีก บางท่านยังนึกภาพไม่ออกว่า เวลาขับรถตกหลุมแล้วเพิ่มแรงดันลมยางได้อย่างไร ให้เราคิดถึงน้ำหนักรถครับ น้ำหนักรถกดกระแทกลงไปที่ยางอย่างกระทันหันขณะตกหลุม ผมจะยกตัวอย่างเหมือนกับเราเป่าลูกโป่ง แล้วเอามือบีบลูกโป่ง เวลาเราออกแรงบีบที่มือเรากับลูกโป่ง แรงบีบของมือเราคือน้ำหนักรถครับ และแรงดันที่เพิ่มขึ้นเราจะสังเกตุเห็นลูกโป่งเบ่งแล้วมีความตึงมากที่ผิวลูกโป่ง จะยืดและปูดออก ยางรถยนต์กับลูกโป่งไม่ต่างกันเลยครับ ถ้ารถตกหลุมแล้วยางไม่ระเบิด เปรียบเหมือนลูกโป่งที่ปูดออกมาเวลาที่เราออกแรงบีบ หรือที่เราได้ยินช่างร้านยางรถยนต์ เขาพูดว่า ยางบวม ฉนั้นเราต้องเอาใจใส่ถึงอายุการใช้งานของยางรถยนต์ อย่าหลงดีใจนะครับว่าเปลี่ยนยางรถยนต์มาใหม่ๆแล้วจอดรถทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งานอย่าคิดว่ายางรถยนต์ยังใหม่อยู่ ยางรถยนต์มีอายุและหมดอายุ เพราะยางรถยนต์จะเสื่อมสภาพทั้งๆที่ไม่ได้ใช้งาน
บทความข้อมูลความรู้ Article information and knowledge. Thai & English Online
Pages
05 พฤศจิกายน 2553
ความปลอดภัยของยางรถยนต์ The safety of tires
บทความยอดนิยม 5 อันดับ Popular Posts
-
การวางหรือตั้งเตา หรือมุมทำครัวไว้นอกบ้านชายคาบ้าน เป็นลักษณะไม่ดี ถ้าแยกมุมทำครัวไว้นอกบ้านควรจะต้องมีหลังคาด้วย ยิ่งเอาครัวหรือตั้งเต...
-
หลายท่านเคยได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆ เวลาไฟไหม้มักเกิิดจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือมีผู้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าจากที่พักอาศัย อันตรายใหญ่หลวงเหล่านี้...
-
หนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยอันดับต้นๆ คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด หลักฐานทางระบาดวิทยาส่งสัญญาณอันน่าวิตกในคนไทยอายุ 35 ปีขึ้...
-
คงกลายเป็นปัจจัยสี่ไปแล้วครับสำหรับรถยนต์ เกือบทุกบ้านต้องมีรถยนต์ ซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวเรานี่เอง ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน ...
-
ฮวงจุ้ยสีที่ช่วยส่งเสริมร้านค้าต่างๆ ร้านเสื้อผ้า: สีฮวงจุ้ยที่ดี ใช้ สีชมพู ฟ้า เขียว เทา ม่วงอ่อน และ หลีกเลี่ยง การใช้ สีขาว ร้าน...
books shop
Literature & Fiction ,
Medicine ,
Health, Mind & Body,
Nonfiction,
Outdoors & Nature,
Parenting & Families,
Professional & Technical,
Children's Books,
Biographies & Memoirs,
Romance,
Science Fiction & Fantasy,
Sports,
Teens,
Travel,
Science,
Arts & Photography,
Business & Investing,
Religion & Spirituality,
Reference,
Comics & Graphic Novels,
Computers & Internet,
Cooking, Food & Wine,
Entertainment,
Gay & Lesbian,
Mystery & Thrillers,
History,
Home & Garden,